วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

       การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
        ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ
1) การวิเคราะห์หลักสูตร
2) การวิเคราะห์ผู้เรียน
3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 
4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 
5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 
7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
     
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
          .การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม ผู้เรียนมีคุณธรรม   จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์    สังเคราะห์   และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล   ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม  และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.เน้นให้ผู้เรียนได้เห็นประโยชน์ของสังคม   เรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน  ฝึกฝนให้รู้จักการใเทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีอิสระและรับผิดชอบ                                                              
 3.ครูต้องมีการวางแผนการจัดกิจกรรม เตรียมสื่อการสอนกำกับดูและกระบวนการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้ ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องมีการ เตรียมการสอนเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้ครูได้พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตร
 
  4. การที่เราจะจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต  วัดผล  ทดสอบต่างๆ  เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขแล้วนำไปใช้ในอนาคต 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  พระพุทธ
แผนการจัดการเรียน
เรื่อง พุทธประวัติ พุทธสาวก พุทธสาวิกา ชาวพุทธตัวอย่าง และชาดก
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   เวลาเรียน 10 ชั่วโมง
1.  สาระสำคัญ
พระพุทธเจ้าขณะประสูติทรงพระดำเนินได้ 7 ก้าว พระองค์ทรงเจริญวัยภายใต้ความสุขและโภคทรัพย์ตามแบบอย่างกษัตริย์ ขณะเสด็จประพาสพระนครได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต 4 คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตายและสมณะ เกิดความเบื่อหน่ายชีวิตในเพศฆราวาสที่เต็มไปด้วยความทุกข์ จึงเสด็จออกผนวชแสวงหาโมกข-ธรรมและบำเพ็ญทุกรกิริยาตามคติความเชื่อของสังคมอินเดียสมัยนั้น ทั้งนี้เราสามารถศึกษาเรื่องราวการบำเพ็ญบารมีธรรมของพระพุทธเจ้าได้จากชาดก
พระพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้แล้วได้ทรงประกาศธรรมและมีผู้เลื่อมใสในธรรมประกาศตนเป็นพุทธสาวก พุทธสาวิกา ประพฤติปฏิบัติตนตามธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ดำรงตนเป็นแบบอย่างชาวพุทธที่ดีงาม

2.  จุดประสงค์การเรียนรู้
1.   อธิบายพุทธประวัติ ตอนการประสูติ เทวทูต 4 การแสวงหาความรู้ และการบำเพ็ญทุกรกิริยา
2.   มีเจตคติที่ดีและความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับพุทธประวัติ ตอนการประสูติ เทวทูต 4 การแสวงหาความรู้ และการบำเพ็ญทุกรกิริยา
3.   อธิบายคุณธรรมและแบบอย่างชีวิตที่ดีของพุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง
4.   เล่าเรื่องและสรุปคติธรรมจากชาดก

3.  สาระการเรียนรู้
1.   พุทธประวัติ : การประสูติ เทวทูต 4 การแสวงหาความรู้ และการบำเพ็ญทุกรกิริยา
2.   ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา : พระมหากัสสปะ พระอุบาลี อนาถบิณฑิกเศรษฐี และนางวิสาขา
3.   ชาวพุทธตัวอย่าง : พระเจ้าอโศกมหาราช และพระโสณะและพระอุตตระ
4.   ชาดก : อัมพชาดก และติตติรชาดก

4.  กิจกรรมการเรียนรู้
        -   นักเรียนทำสมาธิก่อนเรียน 5 นาทีทุกชั่วโมง
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
    1.  สำรวจความต้องการและความพร้อมของนักเรียนก่อนเข้าสู่บทเรียน โดยการซักถาม สังเกตพฤติกรรมหรือสนทนา เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจการเรียนรู้ของนักเรียนหรือร้องเพลงเกี่ยวกับพุทธ-ประวัติ เช่น
5.  สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. วีดิทัศน์เรื่องพุทธประวัติ/ภาพสไลด์พุทธประวัติ/สมุดภาพพุทธประวัติ/ภาพชีวิตจริงแสดงการเกิด การแก่ การตาย และภาพพระสงฆ์
        2.   สื่อสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สัมฤทธิ์มาตรฐาน พระพุทธศาสนา ม.1
6. การวัดและประเมินผล
      6.1       วิธีการวัดและประเมินผล
                   1.   ตรวจใบงานที่ 2.1-2.6
                   2. ตรวจแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้
                   3.   สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
            4.   ประเมินผลงานกลุ่ม
                   5.   ประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม
     6.2   เครื่องมือวัดและประเมินผล
                 1.   ใบงานที่ 2.1-2.6
           2. แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้
                 3.   แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
           4. แบบประเมินผลงานกลุ่ม
                 5.   แบบประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม
   
6.3  เกณฑ์การวัดและประเมินผล
                    1.   ใบงานที่ 2.1-2.6  ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50
             2. แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50
                    3.   แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบสังเกต)
                    4.   แบบประเมินผลงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบประเมิน)
                   5.   แบบประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบประเมิน)

เกณฑ์การให้คะแนน
                   การปฏิบัติงานสมบูรณ์ ชัดเจน                                           ให้                        4       คะแนน
                    การปฏิบัติงานยังมีข้อบกพร่องเล็กน้อย                            ให้                         3        คะแนน
                    การปฏิบัติงานมีข้อบกพร่องเป็นส่วนใหญ่                      ให้                         2        คะแนน
                    การปฏิบัติงานมีข้อบกพร่องมาก                                       ให้                        1        คะแนน

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน
ระดับคุณภาพ
17-20
13-16
9-12
                        5-8
   
          4         หมายถึง      ดีมาก
          3         หมายถึง    ดี
          2         หมายถึง   พอใช้
          1         หมายถึง   ผ่าน
                 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น